top of page

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ  มาเป็นหลัก 
ปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ ไม่ใช่เฉพาะในหมู่คนจน
หรือเกษตรกร โดยต้อง “ระเบิดจากข้างใน” คือการ
เกิดจิตสำนึก มีความศรัทธาเชื่อมั่น เห็นคุณค่า และ
นำไปปฏิบัติด้วยตนเอง  แล้วจึงขยายไปสู่ครอบครัว
ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

"พอมี พอกิน พอใช้ "

มีสติ มีปัญญา รู้เท่าทันโลก ขยันขันแข็ง
เอาการเอางาน รับผิดชอบ ทำมุกภารกิจ
อย่างพอดี พอประมาณ สมเหตุสมผล

การน้อมนำหลักปรัชญามาปฏิบัติ

ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว
มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมี
ความสุขทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็ม
ความสามารถ  ไม่ทำอะไรเกินตัว  ดำเนินชีวิตโดย
ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  รวมทั้งไฝ่รู้และมีการ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง  เพื่อความมั่นคงใน

อนาคต และเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ในที่สุด เช่น หา
ปัจจัยสี่มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวจากการ
ประกอบสัมมาชีพ รู้ข้อมูลรายรับ-รายจ่าย ประหยัด
แต่ไม่ใช่ตระหนี่ ลด-ละ-เลิก อบายมุข สอนให้เด็ก
รู้จักคุณค่า รู้จักใช้และรู้จักออมเงินและสิ่งของ
เครื่องใช้ดูแลรักษาสุขภาพ มีการแบ่งปันภายใน
ครอบครัว ชุมชน และสังคมรอบข้าง รวมถึงการ
รักษาวัฒนธรรม ประเพณีและการอยู่ร่วมกับ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

ความพอเพียงในภาคธุรกิจเอกชน เริ่มจาก
ความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่หวังผลประโยชน์
หรือกำไรในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น แสวงหา
ผลตอบแทนบนพื้นฐานของการแบ่งปัน มุ่งให้ทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสม
และเป็นธรรมทั้งลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงาน
ด้านการขยายธุรกิจต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
รวมทั้งต้องมีความรู้และเข้าใจธุรกิจของตนเอง
รู้จักลูกค้า ศึกษาคู่แข่ง และเรียนรู้การตลาด
อย่างถ่องแท้ผลิตในสิ่งที่ถนัดและทำตามกำลัง
สร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างและพัฒนาคุณภาพ
ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง มีการเตรียมความพร้อม
ต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น มีความซื่อสัตย์
รับผิดชอบต่อสังคมและป้อ งกันผลก ร ะทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญต้องสร้างเสริมความรู้
และจัดสวัสดิการให้แก่พนักงานอย่างเหมาะสม

ความพอเพียงระดับชุมชน คนในชุมชน
มีการรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วย
เหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชนบนหลักของความรู้รัก
สามัคคีสร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในชุมชน
และนอกชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม เช่น การรวมกลุ่มอาชีพ องค์กรการเงิน
สวัสดิการชุมชน การช่วยดูแลรักษาความสงบ
ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้ง
การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมในชุมชนมาสร้างประโยชน์ได้อย่าง
เหมาะสม เพื่อสร้างเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็ง
และมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง

ข้อมูลจาก : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอ้พียง
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ความพอเพียงระดับประเทศ เป็นการ
บริหารจัดการประเทศ โดยเริ่มจากการวางรากฐาน
ให้ประชาชนส่วนใหญ่อยู่อย่างพอมีพอกิน
และพึ่งตนเองได้ มีความรู้และคุณธรรมในการ
ดำเนินชีวิต มีการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆ แห่ง
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้สืบทอดภูมิปัญญา และร่วมกัน
พัฒนาตามแนวทางเศรฐกิจพอเพียงอย่างรู้รัก
สามัคคีเสริมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชน
ให้เกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียงในที่สุ

bottom of page